Home DefiDefi คืออะไร ? ทำความรู้จักกับ decentralized finance กันดีกว่า

Defi คืออะไร ? ทำความรู้จักกับ decentralized finance กันดีกว่า

by กำพล เชาว์รัตนะ

Defi คืออะไร ?

Defi เป็นตัวย่อของคำว่า Decentralized Finance โดย Ethereum ได้ให้คำนิยาม Defi ว่า Defi เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มผลิตภัณฑ์ และ บริการทางการเงิน ที่สามารถเข้าถึงได้โดยคนทุกคนที่มีอินเทอร์เน็ต โดย Defi นั้น ตลาดจะเปิดให้บริการตลอดเวลา และ ไม่มีตัวกลางอย่างธนาคารมาคอยควบคุมการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆของคุณ บริการทางการเงินแบบดั้งเดิมที่มักจะช้า และ เสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากคนนั้น ถูกทำให้ปลอดภัย และ รวดเร็วมากขึ้นโดยการจัดการผ่าน Code ที่ใครก็สามารถเข้าถึง และ ตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส

เอกสารจาก กลต. ได้เขียนถึงคำว่า Defi ว่า DeFi เป็นบริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์บนระบบบล็อกเชน ไม่พึ่งพาตัวกลาง โดยใช้กลไกควบคุมการดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดผ่านสัญญาอัจฉริยะ (smart contract)

สรุป Defi คือ ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ระบบการเงินแบบเก่าๆ (Centralized Finance) โดยมีจุดเด่น คือ

  • ไม่มีหน่วยงาน ไม่มีตัวกลางคอยควบคุม ไม่ต้องกังวลว่าเงินของคุณจะถูกอายัด ถูกยึดจากหน่วยงานเช่น ธนาคาร
  • ตลาด และ บริการเปิดตลอดเวลา สามารถเข้าถึงได้โดยคนทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอินเทอร์เน็ต
  • การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ กิจกรรมทางการเงินของคุณถูกป้องกันความเป็นส่วนตัวด้วยชื่อที่คุณกำหนดขึ้นมาเอง
  • สร้างขึ้นมาโดยเน้นความโปร่งใส ใครก็สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อ ศึกษา และ ตรวจสอบระบบการทำงานได้

เพื่อให้ DeFi Dapps ทำงานได้ จะต้องมีการล็อคหลักประกัน กับ smart contracts ซึ่งหลักประกันที่ถูกล็อคสะสมใน DeFi Dapps
มักเรียกกันว่า Total Value Locked หรือ TVL จากข้อมูลของ DefiLlama ณ วันที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563 นั้น
Total Value Locked ของ Defi บนแพลตฟอร์มทั้งหมดมีมูลค่า ห้าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

หากนับแต่
TVL ของ Defi ที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Ethereum อย่างเดียว มูลค่าจะเป็น สองหมื่นเก้าพันสี่ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ

Total value locked of defi on Ethereum
รูปภาพจากเว็บไซต์ defillama

Defi Ecosystem

Defi Ecosystem หมายถึง Stablecoins, คริปโตเคอเรนซี่, DEX(Decentralized Exchanges), ตลาดเงิน โดยรวมไปถึง ผลิตภัณฑ์ และ บริการทางการเงินต่างๆ ที่สร้างขึ้นด้วย Smart Contracts และ อยู่ใน Blockchain

ระบบนิเวศของ Defi นั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป้าหมายของ Defi Dapps คือการปฏิวัติบริการทางการเงินแบบดั้งเดิม ให้ดียิ่งขึ้นด้วยการลบความจำเป็นที่จะต้องมีตัวกลางเวลาทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ธนาคารออกไป

แม้ว่า ณ เวลาปัจจุบัน เราจะเห็นว่า Defi ต่างๆนั้น อยู่ในช่วงเริ่มต้น พึ่งอยู่ในช่วงทดลองกับผู้ใช้งานจริง แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจจะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ความรู้ที่เหมาะสมจะทำให้คุณสามารถใช้ประโยชน์ และ ทำกำไรจาก Defi ได้ก่อนใคร

Lending & Borrowing

ผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการเกี่ยวกับ การกู้ และ ปล่อยกู้

Please enter and activate your license key for Cryptocurrency Widgets PRO plugin for unrestricted and full access of all premium features.

ระดับการกระจายศูนย์ หรือ Decentralized ของ Defi

หากคุณเข้าใจว่า Defi ต่างๆที่ให้บริการในปัจจุบันนั้น มีการกระจายศูนย์ที่สมบูรณ์ เป็นความเข้าใจที่ผิด ในความเป็นจริงนั้น ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ Defi ไหนที่สามารถกระจายศูนย์ได้อย่างสมบูรณ์ หากแบ่งระดับของการ Decentralized อย่างง่ายๆจะแบ่งได้เป็นสามระดับ คือ

1.แบบรวมศูนย์ หรือ Centralized

คุณลักษณะ : Custodial, ใช้ฟีดราคาจากส่วนกลาง, อัตราดอกเบี้ยกำหนดจากส่วนกลาง, สภาพคล่องจากส่วนกลาง
สำหรับ margin call
ตัวอย่าง : Salt, BlockFi, Nexo และ Celsius

Please enter and activate your license key for Cryptocurrency Widgets PRO plugin for unrestricted and full access of all premium features.

2.แบบกึ่งกระจายศูนย์ Semi-Decentralized

คุณลักษณะ : มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ มากกว่าหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด จากคุณลักษณะดังต่อไปนี้ Non-custodial, ฟีดราคาแบบ decentralized, permissionless initiation of margin calls, permissionless margin liquidity, กำหนดดอกเบี้ยแบบ decentralized, การพัฒนา และ อัพเดตแพลตฟอร์มแบบ decentralized
ตัวอย่าง : Compound, MakerDAO, dYdX, bZx

Please enter and activate your license key for Cryptocurrency Widgets PRO plugin for unrestricted and full access of all premium features.

3.แบบกระจายศูนย์ อย่างสมบูรณ์ Completely Decentralized

คุณลักษณะ : Non-custodial, ฟีดราคาแบบ decentralized, permissionless initiation of margin calls, permissionless margin liquidity, กำหนดดอกเบี้ยแบบ decentralized, การพัฒนา และ อัพเดตแพลตฟอร์มแบบ decentralized
ตัวอย่าง : ยังไม่มีแพลตฟอร์ม Defi ไหนที่ Decentralized อย่างสมบูรณ์

Related Posts

แสดงความคิดเห็น